หลักในการดูแลบ้านอย่างถูกวิธีตั้งแต่หลังคาจนใต้ดิน

หลักการดูแลบ้านอย่างถูกวิธี

บ้าน 1 หลังสำหรับคนบางคนชั่วชีวิตก็ไม่อาจจะมีเป็นของตัวเองได้ แต่สำหรับผู้ที่มีกำลังมีโอกาสที่ดีกว่าการมีบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตัวเองสัก 1 หลัง 1 ห้องถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและสำคัญที่สุดในชีวิต การดูแลส่วนต่าง ๆ ของบ้านเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แข็งแรงและปลอดภัยนั้นไม่ใช่การมีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพงหรือพื้นที่กว้างขวางแต่อย่างใด แต่การมีบ้านที่อบอุ่นอยู่แล้วปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การดูแลโครงสร้างหลักของบ้านพร้อมสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ จึงขาดไม่ได้ วันนี้มีหลักการดูแลอย่างถูกวิธีมาฝากติดตามกันได้เลย

การดูแลและตรวจสอบหลังคาบ้าน หมวกสำหรับผู้อาศัย

หลังคาบ้านถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบ้านซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เหมือนเป็นหมวกให้คนในบ้านได้อยู่กันอย่างอบอุ่นปลอดภัยป้องกันปัญหาทางด้านสภาพอากาศและภัยธรรมชาติต่าง ๆ ให้แก่ตัวบ้านและผู้อยู่อาศัยแล้ว ด้วยนวัตกรรมใหม่หลังคาบ้านยังสามารถช่วยปรับอุณหภูมิภายในบ้านรวมถึงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานจากแสดงอาทิตย์ประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย

วิธีการตรวจสอบก็คือการตรวจหารั่วซึมของหลังคา คราบเลอะเป็นรอยตะไคร่น้ำตามเพดานฝ้า รอยแตกรอยร้าวรวมถึงการเรียงซ้อนกันของแผ่นหลังมีช่องโหว่หรือไม่ เป็นระเบียบเรียบร้อยแค่ไหนอีกด้วย หากพบปัญหาความเสียหายประเภทรอยหัก แตกหรือร้าวรวมถึงการเคลื่อนตัวของแผ่นกระเบื้องมุงหลังต้องดำเนินการแก้ไขทันทีโดยการเปลี่ยนกระเบื้องแผ่นที่มีอาการชำรุด ขยับแผ่นกระเบื้องให้เข้าถึงหรือและเปลี่ยนฝ้าใหม่แทนของเดิม

การตรวจสอบดูแลส่วนอื่น ๆ ของบ้านที่สำคัญ

นอกจากหลังคาบ้านที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกที่เจ้าของบ้านต้องทำการตรวจสอบแล้ว โครงสร้างและรายละเอียดต่าง ๆ ภายในบ้านก็มีความสำคัญไม่แพ้กันไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องพื้นบ้าน ระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า ประปา ระบบการระบายน้ำ การขจัดสิ่งปฏิกูลรวมถึงต้นไม้ใหญ่น้อยสำหรับบ้านที่มีบริเวณล้วนแล้วแต่ต้องให้ความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบกระเบื้องปูพื้นรวมถึงพื้นบ้านทุกชั้นทุกส่วน หากพบบริเวณที่มีน้ำขัง บริเวณดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การทรุดตัวไม่ได้ระดับมีตะไคร่มาจับเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ตรวจสอบท่อระบายน้ำสภาพโดยรวมต้องไม่มีรอยแตกร้าว คดงอ ท่อระบายน้ำต้องไม่มีสิ่งใดขวางหรืออุดตัน การทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลต้องแยกประเภทให้เรียบร้อยป้องกันการตกหล่นลงระบบระบายน้ำสร้างการอุดตันและนำไปสู่ปัญหาระยะยาวได้ ในส่วนของถังพักสิ่งปฏิกูลผู้อยู่อาศัยควรสูบตะกอนทุก ๆ 2 ปีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและยังเป็นการรักษามาตรฐานการใช้งานถังบำบัดได้ดีอีกด้วย ที่สำคัญควรเติมจุลินทรีย์ธรรมชาติหรือ EM ผสมน้ำลงในถังเพื่อช่วยการย่อยสลายทำให้ถังทำงานได้เต็มทีไม่อุดตันง่าย

การดูแลต้นไม้ใหญ่น้อยทุกประเภทที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน

การดูแลต้นไม้ใหญ่น้อย การตัดหญ้าเป็นประจำ ตกแต่งต้นไม้ใหญ่ด้วยการตัดกิ่งก้านสาขารวมถึงการทำความสะอาดสวนกวาดเศษใบไม้ ขยะต่าง ๆ มีผลดีดังนี้

  • ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยปลอดภัยและหลีกเลี่ยงอันตรายจากสัตว์มีพิษประเภทต่าง ๆ ได้
  • การให้น้ำต้นไม้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในปริมาณที่พอดีสามารถสร้างร่วมเงาและลดอุณหภูมิให้บ้านได้

นอกจากนี้แล้วการหมั่นตรวจสอบตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์หรือเป็นไม้ หากพบรอยร้าวไม่ว่าจะเป็นแนวเฉียง หรือแนวตรงรวมถึงสภาพของสีผนังที่มีอาการบวม พองหรือเกิดฝุ่นคล้ายแป้ง เกิดจุดดำเชื้อราตามผนัง ควรให้ช่างเฉพาะทางเข้าดูแลซ่อมแซมอุดรอย ทาสี ขัดเงา ทาเคลือบป้องกันปลวกให้เรียบร้อยเพื่อให้บ้านคงสภาพดีดังเดิมและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย

การดูแลระบบไฟฟ้า ระบบประปาภายในและภายนอกบ้าน

การตรวจสอบเช็กสภาพระบบไฟฟ้าทั้งสายไฟ ปลั๊กไฟทั้งภายในและภายนอกอาคารเพื่อหาตำแหน่งที่มีสภาพชำรุดเสียหายหรือไม่ด้วยการสับคัทเอาท์ลงทั้งหมดจากนั้นดูมิเตอร์ไฟฟ้า หากยังมีการวิ่งอยู่แสดงว่ามีการรั่วเช่นเดียวกับระบบประชา หากปิดระบบน้ำทั้งหมดแล้วยังมีการวิ่งของมิเตอร์หรือปิดมิเตอร์น้ำแล้วตัวเลขยังวิ่งอยู่แสดงว่ามีการรั่วของน้ำเกิดขึ้น ผู้อยู่อาศัยต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าทำการหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการซ่อมแซมทันที ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารัดวงจร ไฟช็อต ไฟรั่ว หรืออาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ 

การดูแลบ้านไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องใส่ใจเป็นประจำ

การดูแลรักษาบ้านในบางส่วนสามารถดูแลได้ง่าย ๆ ทำได้ทุกวันเช่นระบบประปา ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ บางอย่างเป็นงานใหญ่งานช้างนาน ๆ ดูที เช่น หลังคา พื้นกระเบื้อง ตัวบ้าน ผู้อยู่อาศัยให้การดูแลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งหรือเช็กความปกติทุก ๆ 6 เดือนก็ดีไม่น้อยเลยทีเดียว ดูแลบ้านให้ดีบ้านก็จะดูแลผู้อยู่อาศัยให้ดีด้วยเช่นกัน

บทความเเนะนำวันนี้